mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,975,459
</p>

ข่าวบิดเบือน ภาพที่กล่าวถึงแอปฯ หมอชนะขอเข้าถึงประวัติการใช้งาน ไมค์ และข้อมูลต่อไวไฟ

ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง แอปฯ หมอชนะขอเข้าถึงประวัติการใช้งาน ไมค์ และข้อมูลต่อไวไฟ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากที่มีการแชร์ภาพ พร้อมข้อความที่ระบุว่า แอปพลิเคชันหมอชนะ ขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล มากที่สุดในอาเซียน โดยเข้าถึงกล้อง ประวัติการใช้งานอุปกรณ์ ตำแหน่งผู้ใช้ ไมค์ คลังรูปภาพ/คลิปวิดีโอ/ไฟล์อื่นๆ พื้นที่เก็บข้อมูล และข้อมูลต่อไวไฟนั้น ทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้ชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเก่า ของรุ่นเมื่อเดือนเมษายน 2563 ที่แอปฯ เคยขอเข้าถึงสิทธิ์ตามนั้นทุกข้อจริง แต่ปัจจุบันเมื่อมีการพัฒนา ซึ่งดูตามความต้องการและการแสดงความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ ทำให้ได้มีการปรับเปลี่ยนการเข้าถึงสิทธิ์ในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อผู้ใช้งานจะได้มีความสบายใจและรู้สึกปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

โดยรุ่นปัจจุบัน แอปฯ หมอชนะ ไม่มีการขอเก็บข้อมูลประวัติการใช้งานอุปกรณ์ ไมค์ และข้อมูลต่อไวไฟ ตามที่แชร์กัน มีการขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลแค่ 4 อย่าง ดังนี้

1. กล้อง เพื่อเอามาประกอบ QR Code ใช้เป็น Health Passport แต่รูปเก็บในเครื่องมือถือไม่ได้ ส่งกลับมาที่ Server
2. ตำแหน่งผู้ใช้ มีเก็บแบบ Anonymous ID ไม่สามารถระบุตัวตนได้
3. คลังรูปภาพ เพื่อเอามาทำ Profile ตามข้อ 1 ซึ่งใน Version ถัดไปจะลดให้เข้าถึงได้แค่ 3 ครั้ง ใน 24 ชม.
4. พื้นที่เก็บข้อมูล ใช้เก็บข้อมูล Location ก่อนส่งออกไปหรือเมื่อไม่มีสัญญาณมือถือ

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สามารถติดตามได้ที่เว็บ www.dga.or.th หรือโทร. 0 2612 6000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : รูปที่ถูกแชร์เป็นข้อมูลเก่า ของรุ่นเมื่อเดือนเมษายน 2563 ที่แอปฯ เคยขอเข้าถึงสิทธิ์ตามนั้นทุกข้อจริง แต่รุ่นปัจจุบันไม่มีการขอเก็บข้อมูลประวัติการใช้งานอุปกรณ์ ไมค์ และข้อมูลต่อไวไฟแล้ว ขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเพียงแค่ 4 อย่างเท่านั้น คือ กล้อง ตำแหน่งผู้ใช้  คลังรูปภาพ และพื้นที่เก็บข้อมูลเท่านั้น

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด