mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 21,065,412
</p>

ข่าวบิดเบือน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ข่าวบิดเบือน ความเครียดทำให้อาการของโรคต่อมลูกหมากแย่ลง

ตามที่มีข้อมูลในสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องความเครียดทำให้อาการของโรคต่อมลูกหมากแย่ลง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากกรณีที่มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพโดยระบุว่า ความเครียดส่งผลต่อโรคต่อมลูกหมากโต ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ความเครียด อาจส่งผลต่ออาการปัสสาวะที่แย่ลงในผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตโดยผ่านกลไกลของระบบประสาทอัตโนมัติที่ตอบสนองต่อภาวะเครียด (sympathetic systems) ผ่านฮอร์โมน adrenaline ส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบบริเวณต่อมลูกหมากที่หุ้มท่อปัสสาวะ และทางออกกระเพาะปัสสาวะมีการหดรัดตัว เกิดแรงเสียดทานในทางเดินปัสสาวะ มีปริมาณปัสสาวะเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะปริมาณมากกว่าภาวะปกติ ทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงได้ แต่จากข้อมูลการศึกษาพบว่าภาวะเครียดไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขนาดของต่อมลูกหมาก หรือเพิ่มอุบัติการณ์การเกิดโรคต่อมลูกหมากโต ดังนั้นความเครียดอาจทำให้อาการของโรคต่อมลูกหมากแย่ลงได้ คือ อาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่สุด หรือ ปัสสาวะแสบขัด เป็นต้น ซึ่งอาการทางเดินปัสสาวะที่แย่ลงเหล่านี้อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ได้หลายสาเหตุนอกเหนือจากความเครียด เช่น ภาวะที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะต่อมลูกหมากโตอุดกั้นทางเดินปัสสาวะอย่างรุนแรงหรือมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุโดยศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะภาวะเหล่านี้อาจส่งผลเสียที่รุนแรงได้ในอนาคต

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ความเครียดอาจทำให้อาการของโรคต่อมลูกหมากแย่ลง คือ อาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่สุด แต่อาการทางเดินปัสสาวะที่แย่ลงอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด