Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,699,569

กิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566

กิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ

กิจกรรม “สร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม” กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้รับมอบหมายให้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินงานโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Anti Fake News Center: AFNC) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี

โดยตลอดช่วงเวลา 3 ปี ที่ได้ดำเนินงานมา จะเห็นได้ชัดเจนว่าข่าวปลอมมีผลกระทบต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2563 ต่อเนื่องถึงปี 2565 หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน ข่าวปลอมเกี่ยวกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก นอกจากข่าวปลอมในด้านสุขภาพแล้ว ปัจจุบันการเข้ามาของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ที่เติบโตขึ้นอย่างมากและมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ทําให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทําได้ง่าย และมีราคาถูกลง ส่งผลให้การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย (Social Media) เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจําวันของประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มของเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ซึ่งมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีการแสดงความคิดเห็น และส่งต่อเนื้อหา ข้อมูลและข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รวมถึงโปรแกรมส่งข้อความต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสําคัญ และบ่อยครั้งที่พบว่าเนื้อหา ข้อมูล และข่าวสารที่เผยแพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวางเหล่านี้ไม่ตรงต่อ ข้อเท็จจริง อันอาจทําให้เกิดความเข้าใจผิดที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชน สังคม เศรษฐกิจ หรือความมั่นคงของ ประเทศในวงกว้าง ทั้งในด้านภัยพิบัติ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านนโยบายรัฐ และด้านอื่น ๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

ในส่วนของการจัดกิจกรรมในวันนี้ เป็นการจัดในรูปแบบการบรรยาย และการจัดอภิปราย โดยได้วิทยากรพิเศษที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการรับมือกับข่าวปลอม โดยในภาคเช้าทุกท่านจะได้พบกับการบรรยายพิเศษในเรื่อง “การตรวจสอบข่าวปลอมในยุคดิจิทัล” และในภาคบ่ายจะเป็นกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “รู้ให้ไว ก้าวให้ทัน กับข่าวลวงบนโลกออนไลน์” ซึ่งเชื่อว่าทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้จะได้รับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการใช้รับมือและต่อต้านข่าวปลอม และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้สังคมได้รับทราบต่อไป

สามารถดาวน์โหลดรูปภาพได้ที่ https://fakenews.ntcloudbox.com/s/igZmnZ7w5sKEJ8s

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด