mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 21,399,894
</p>

การเจาะหู เสี่ยงเป็นคีลอยด์และแผลสามารถขยายใหญ่ได้เรื่อยๆ จริงหรือ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องใช้ยาสีฟันการเจาะหู เสี่ยงเป็นคีลอยด์และแผลสามารถขยายใหญ่ได้เรื่อย ๆ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง

การเกิดคีลอยด์จากการเจาะหูโดยประมาณจะน้อยกว่า 2.5% มีการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดคีลอยด์จากการเจาะหูคือ การที่มีการติดเชื้อ การอักเสบเรื้อรังหลังจากการเจาะหู การแพ้ตัวตุ้มหูที่ใส่ และตำแหน่งที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นคือบริเวณใบหูที่กระดูกอ่อนหากเจาะหูบริเวณนี้จะมีโอกาสเกิดการติดเชื้อและการอักเสบได้มากกว่าบริเวณติ่งหู ดังนั้นในการศึกษานี้จึงแนะนำให้เจาะหูด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ (sterile technique) และเจาะเฉพาะบริเวณติ่งหูเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อและการอักเสบที่จะนำไปสู่การเกิดคีลอยด์หลังการเจาะหู

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ https://www.iod.go.th/ หรือโทร 02 5906000

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด