จำนวนผู้เข้าชม 25,299,844

กิจกรรมเสริมสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ในสถานศึกษา ครั้งที่ 2/2567 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม

กิจกรรมสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ในสถานศึกษา ครั้งที่ 2
ภายใต้โครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม
(Anti Fake News Center: AFNC)

1

ในวันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 เวลา 10.00 – 16.00 น.
ณ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ การเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหาและข่าวสารที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต สร้างความเข้าใจในการวิเคราะห์ข่าว รู้จักแยกแยะข้อความที่เป็นข่าวจริง ข่าวปลอม และข่าวบิดเบือน ผ่านนิทรรศการให้ความรู้ และเกมเสริมทักษะ เพื่อให้เหมาะสมกับวัยและเตรียมความพร้อมในเบื้องต้น นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการสร้างการรับรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอมเกี่ยวกับเรื่อง วิธีรับมือข่าวปลอมในยุคดิจิทัล โดยพันตำรวจตรีวีระพงษ์ แนวคำดี  สารวัตรกลุ่มงานป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบังคับการตรวจวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

2

6

ทั้งนี้ ข่าวปลอมสามารถสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน ทั้งยังมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากปัจจุบันการเข้ามาของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ที่เติบโตขึ้นอย่างมากและมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้งานสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตที่ทําให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทําได้ง่าย ส่งผลให้การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย (Social Media) เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจําวันของประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มของน้อง ๆ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ซึ่งการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีการแสดงความคิดเห็น และส่งต่อเนื้อหา ข้อมูลและข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รวมถึงโปรแกรมส่งข้อความต่าง ๆ ทุกวันนี้มีระบบ AI ที่ภาษาไทยใช้คำว่า ปัญญาประดิษฐ์ คือระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่มีการวิเคราะห์เชิงลึกคล้ายความฉลาดของมนุษย์ และสามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นการกระทำได้

3

4

ในปี 2567 นี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสังคมในการต่อต้านข่าวปลอม โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณก่อนจะเผยแพร่หรือส่งต่อในอินเทอร์เน็ต ผ่านการการจัดกิจกรรมเสริมสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ในสถานศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล และมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาข่าวปลอมและการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง

5

สามารถดาวน์โหลดรูปภาพได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1BB_9qkS09scHeSAnV8Vxcy9Kw15zMRcN?usp=sharing

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด