Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 30,903,940

พะยูนไทยจะสูญพันธุ์ ใน 3 เดือน เกยตื้นตายไปแล้ว 29 ตัว

อย่าตื่นตระหนก ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2567-31 มกราคม 2568 พบพะยูนเกยตื้นทั้งสิ้น 28 ตัว เฉลี่ยเดือนละ 7 ตัว โดยการเกยตื้นเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การป่วยเรื้อรัง เรือชน และคาดว่า ติดเครื่องมือประมง เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรมในพื้นที่ทะเลอันดามัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่หญ้าทะเลในจังหวัดตรัง ซึ่งมีผลกระทบต่อสัตว์ทะเล โดยเฉพาะพะยูนที่กินหญ้าทะเลเป็นอาหารหลัก และพบพะยูนจำนวน 3 ตัวที่เกยตื้น เนื่องจากสาเหตุการขาดอาหารซึ่งเป็นผลจากหญ้าทะเลเสื่อมโทรม โดยพบว่า เกยตื้นที่จังหวัดตรัง 2 ตัว และจังหวัดสตูล 1 ตัว 

จากการสำรวจพะยูนในพื้นที่ทะเลอันดามันโดยเจ้าหน้าที่กรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการอนุรักษ์พะยูน พบว่า พะยูนบางส่วนได้มีการอพยพไปยังแหล่งหญ้าทะเลอื่น โดยเฉพาะแหล่งหญ้าที่บริเวณอ่าวพังงา และจังหวัดภูเก็ต พบจำนวนประชากรพะยูนเพิ่มขึ้นและสามารถระบุจากอัตลักษณ์ได้ว่า พะยูนบางตัวมาจากจังหวัดตรัง 

นอกจากการสำรวจประชากรพะยูนแล้ว ทางกรม อส และ ทช ยังมีการวางแผนและดำเนินการด้านต่าง ๆ ในการอนุรักษ์พะยูน เช่น การเตรียมความพร้อมในการดูแลและจัดการพะยูนเกยตื้น การตรวจสุขภาพพะยูนในถิ่นที่อยู่อาศัย การดำเนินการลาดตระเวนในพื้นที่หญ้าทะเล จัดทำคอกฟื้นฟูหญ้าทะเล การจัดทำแปลงอาหารเสริมให้แก่พะยูน เป็นต้น และยังได้มีการประสานงานกับจังหวัดเพื่อจัดทำมาตรการในการคุ้มครองพะยูนในพื้นที่ ในการจัดการพื้นที่หญ้าทะเล ได้มีการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล โดยมีการทดลองการล้อมคอกหญ้าทะเล ซึ่งพบว่า หญ้าคาทะเล ซึ่งเป็นหญ้าใบยาวสามารถเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ ยังได้มีการเตรียมพื้นที่เพื่อทำแหล่งพันธุ์หญ้าทะเลในการฟื้นฟูหญ้าในอนาคต

Web2

AFNC รู้เท่าทันข้อมูลเท็จ เราเช็กข่าวให้แล้ว

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด