Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 30,836,376

ข่าวปลอม อย่าแชร์! เมฆเตือนภัย เครื่องบินเล็ก รถทัวร์ ให้ระวังอุบัติเหตุภายในเดือน พ.ย. 67

ตามที่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องเมฆเตือนภัย เครื่องบินเล็ก รถทัวร์ ให้ระวังอุบัติเหตุภายในเดือน พ.ย. 67 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีที่มีผู้ให้ข้อมูลระบุว่า เมฆเตือนภัย เครื่องบินเล็ก รถทัวร์ ให้ระวังอุบัติเหตุภายในเดือน พ.ย. 67 ทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีที่มาจากกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเมฆมีหลากหลายชนิด ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุแต่อย่างใด

ลักษณะของเมฆ มีดังนี้
เมฆสเตรตัส (Stratus Cloud) เป็นเมฆแผ่นสีเทาที่มีฐานค่อนข้างเรียบ เมฆชนิดนี้ให้น้ำฟ้าประเภทฝนละออง (drizzle) ผลึกน้ำแข็ง (ice prisms) หรือละอองหิมะ (snow grains) ถ้าสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ผ่านเมฆชนิดนี้ได้ เราจะสามารถเห็นขอบของดวงอาทิตย์อย่างชัดเจน เมฆชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดวงแสง (Halo) เว้นแต่เมื่อมีอุณหภูมิต่ำมากก็อาจเกิดได้ บางครั้งเมฆชนิดนี้ก็แตกออกจากกัน และบางทีเป็นหย่อม ๆ มองดูรุ่งริ่งคล้ายผ้าขี้ริ้ว

เมฆคิวมูโลนิมบัส(Cumulonimbus Cloud) เมฆก้อนใหญ่หนาทึบเกิดโดยการไหลขึ้นของกระแสอากาศ มีรูปลักษณะคล้ายภูเขาหรือหอสูงมหึมา เป็นเมฆที่แสดงถึงสภาวะอากาศไม่ดีเมื่อก่อตัวเต็มที่ ยอดเมฆเป็นแนวเรียบหรือเป็นร่อง ๆ มีลักษณะเป็นฝอยหรือปุย ซึ่งเกือบจะแบนราบและแผ่ออกไปคล้ายรูปทั่ง (anvil) หรือขนนกขนาดใหญ่ ฐานเมฆต่ำขรุขระรุ่งริ่งคล้ายชายผ้าขี้ริ้วห้อยลงมา มีสีดำมืด อาจจะอยู่กระจัดกระจายหรือรวมกันอยู่ก็ได้ มักมีฝนตกลงมาด้วย น้ำฟ้าที่ตกลงมาในบางครั้งไม่ทันตกถึงพื้นดินก็ระเหยกลายเป็นไอไปเสียก่อน (virga) เมฆชนิดนี้เราเรียกว่า เมฆฟ้าคะนอง

เมฆแอลโตสเตรตัส(Altostratus Cloud) ลักษณะเป็นเมฆแผ่นสีเทา หรือสีน้ำเงินและสีนั้นสดใส เมื่อเมฆนี้อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ไม่มีเยื่อเป็นเส้นอย่างเมฆซีร์โรสเตรตัส เมื่อบังดวงอาทิตย์จะทำให้เห็นดวงอาทิตย์เป็นสีซีดเหมือนดูด้วยกระจกฝ้า ในโซนร้อนเมฆนี้มักเกิดในเวลาที่มีฝนตก

เมฆแอลโตคิวมูลัส (Altocumulus Cloud) เป็นเมฆมีสีขาวหรือสีเทาหรือมีทั้งสองสีจัดตัวเป็นคลื่นหรือเป็นลอนประกอบด้วยก้อนหรือเป็นชั้น มีเงาเมฆ เมฆชนิดนี้มีลักษณะเป็นเกล็ด เป็นก้อนกลม ๆ หรือเป็นก้อนม้วนตัว (roll) ฯลฯ ซึ่งบางครั้งก็มีลักษณะเป็นฝอยหรือเป็นเส้นใยละเอียด (fibrous) อยู่บ้างเป็นบางส่วนหรือบางทีก็กระจัดกระจาย (diffuse) อาจรวมอยู่ด้วยกันหรือไม่รวมกันก็ได้ เมฆนี้ประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ เป็นส่วนมาก มีความกว้างปรากฏให้เห็นระหว่าง 1-5 องศา (รองรับมุมกับตา)

เมื่อเมฆที่ตรวจนั้นอยู่สูงเหนือของฟ้ามากกว่า 30 องศา สีของเมฆบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ ซึ่งเมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกลภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสงทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว ในขณะที่ก้อนเมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น และเมื่อละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีช่องว่างระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก

อย่างไรก็ตาม การซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ การทรงกลด หรือ เฮโล (อังกฤษ: halo) เป็นชื่อเรียกปรากฏการณ์ทางทัศนศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ส่วนบน อันเป็นที่อยู่ของกลุ่มเมฆจำนวนมาก ละอองน้ำในชั้นบรรยากาศนี้สามารถเย็นตัวจัดจนกลายเป็นอนุภาคน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ เมื่อมีแสงมาส่องกระทบก็จะเกิดการหักเหของแสง และเกิดการกระจายเป็นแถบสีรุ้งเหมือนเมื่อแสงผ่านปริซึม แถบสีรุ้งอาจมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละสภาพแวดล้อม โดยมากแล้วการหักเหนี้มักทำให้เกิดปรากฏเป็นวงล้อมรอบแหล่งกำเนิดแสงทำมุม 22 องศารอบ ซึ่งจะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า พระอาทิตย์ทรงกลด เมื่อเกิดขึ้นกับดวงอาทิตย์ และอาจเกิดขึ้นกับดวงจันทร์ได้ เรียกว่า พระจันทร์ทรงกลด นอกจากนี้ยังเกิดที่มุม 46 องศาได้ด้วย นอกจากรูปแบบวงกลมแล้วก็ยังอาจเกิดในรูปแบบอื่น ๆ อีก ได้แก่ เสาแสง ซันด็อก

เมฆเตือนภัย

ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนอย่าได้แชร์หรือส่งต่อข่าวปลอมนี้ และติดตามข่าวพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาเท่านั้น เพื่อมิให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนกขึ้นในสังคม หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th, Facebook กรมอุตุนิยมวิทยา Application Thai weather หรือสายด่วน 1182 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีที่มาจากกรมอุตุนิยมวิทยา โดยเมฆมีหลากหลายชนิด แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุแต่อย่างใด

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด