Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,885,429

ตับ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว อาหารทะเล ถั่วและเมล็ดพืช เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับโรคโลหิตจาง จริงหรือ?

ตามที่มีข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องตับ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว อาหารทะเล ถั่วและเมล็ดพืช เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับโรคโลหิตจาง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ภาวะโลหิตจาง (anemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณของเม็ดเลือดแดงลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะซีด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ หากมีภาวะโลหิตจางรุนแรง อาจทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อาการและความรุนแรงของภาวะโลหิตจางมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะโลหิตจาง และความเร็วในการเกิดภาวะโลหิตจางว่า เป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ในรายที่มีภาวะโลหิตจางแบบเฉียบพลัน จะมีอาการและอาการแสดงมากกว่ารายที่เป็นแบบเรื้อรัง สาเหตุของภาวะโลหิตจางเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยและมีความสำคัญ คือ ภาวะขาดสารอาหารบางอย่างที่มีผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ได้แก่ ภาวะขาดธาตุเหล็ก ภาวะขาดวิตามินบี 12 ภาวะขาดโฟลิก เป็นต้น

อาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มีความสำคัญในกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงการสร้างเม็ดเลือดต่าง ๆ ด้วย ดังนั้นเราจึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะขาดสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ ซึ่งจะขอกล่าวถึงภาวะโลหิตจางจากขาดสารอาหารที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟลิก และภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เกิดจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก คือ ทารกแรกเกิด เด็กที่กินยากหรือกินไม่เพียงพอ ผู้ที่มีความผิดปกติในการย่อยและการดูดซึมอาหาร หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร วัยรุ่นที่เริ่มมีประจำเดือน และผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีความต้านทานโรคต่ำ เปลือกตาขาวซีด ลิ้นอักเสบ เล็บบางเปราะและมีระดับสติปัญญาลดลง เมื่อทำการตรวจเลือดจะพบว่า มีภาวะซีด เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก การสร้างเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนลดลง และอาจพบเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะเฉพาะ รูปร่างเรียวยาว เรียกว่า pencil cell การป้องกัน คือ การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์เนื้อแดง ตับ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว สาหร่าย อาหารทะเล และธัญพืช

หากผู้ป่วยมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก จะได้รับยาธาตุเหล็ก โดยยาธาตุเหล็กนี้ไม่ควรรับประทานพร้อมนม และสิ่งที่ช่วยการดูดซึมธาตุเหล็ก คือ วิตามินซี ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟลิก สารโฟลิกเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารพันธุกรรม DNA และ RNAซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่าง ๆ และยิ่งมีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็ว โดยเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็วจำเป็นต้องมีการใช้โฟลิกในกระบวนการสร้างเซลล์ตลอดเวลา หากมีการขาดโฟลิกซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสารพันธุกรรม มักจะมีผลต่อเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วก่อนเซลล์อื่น เช่น เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะซีด เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ และยังทำให้มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำและเกล็ดเลือดต่ำได้ด้วย นอกจากนั้นยังมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา อาจทำให้ทารกมีหลอดประสาทเปิด (neural tube defect) รวมทั้งเกิดปากแหว่ง เพดานโหว่ได้ การป้องกัน คือ การรับประทานอาหารที่มีโฟลิกสูง ได้แก่ ผักใบเขียว ไข่ ถั่วและธัญพืช

ตับ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว อาหารทะเล ถั่วและเมล็ดพืช

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.anamai.moph.go.th หรือ โทร. 02-590-4000

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด