Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,809,252

มนุษย์สามารถติดเชื้อราจากแมว มีผื่นคันลามทั้งตัวได้ จริงหรือ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องมนุษย์สามารถติดเชื้อราจากแมว มีผื่นคันลามทั้งตัวได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง

เชื้อราแมว (Microsporum canis) เป็นเชื้อราที่สามารถก่อโรคในแมวได้ และสามารถติดต่อระหว่างแมวด้วยกันเอง รวมทั้งสามารถติดต่อมาที่มนุษย์ได้ โดยเฉพาะคนที่ชอบสัมผัสกับแมว โดนแมวที่ติดเชื้อข่วนกัดหรือสัมผัสผิวหนัง โดยอาจจะไม่ได้ทำความสะอาดหลังจากสัมผัส ทำให้เกิดการติดเชื้อราเกิดภาวะโรคกลากแมวขึ้นมาได้ (Tinea infection) นอกจากนี้ ยังสามารถติดมาจากแมวที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนเชื้อราแมว เช่นขนแมว ตามบริเวณต่าง ๆ ได้

โดยส่วนใหญ่ แมวที่เป็นโรคผิวหนัง อาจจะมีลักษณะเป็นผิวหนังแดง แห้ง ลอกเป็นขุย ๆ หรือมีขนหลุดเป็นหย่อม ๆ บางบริเวณได้ ในขณะที่มนุษย์เมื่อมีอาการติดเชื้อราแมวมา จะมีอาการต่าง ๆ โดยเริ่มมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ตามลำตัวหรือแขนขาที่สัมผัส ลักษณะผื่นจะเป็นผื่นแดง ขอบค่อนข้างหนา มองเห็นชัด รวมทั้งมีขุยสะเก็ด และขนาดวงมีขนาดใหญ่ขึ้นตามการกระจายของเชื้อราที่ผิวหนัง

นอกจากนี้ คนไข้จะมีอาการคันตามผื่นแดงที่เป็นได้ หรือบางครั้งมีการติดเชื้อที่หนังศีรษะ มีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ และมีผมร่วงเป็นหย่อมได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยแกะเกามากจนเป็นแผล อาจจะพบการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนเพิ่มเติมได้ ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกวิธี มีโอกาสที่ผื่นลุกลามเป็นมากขึ้น หรือกระจายทั่วตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ

ในกรณีที่คนไข้ติดเชื้อจากทางผิวหนังจากแมวแล้ว ควรทำความสะอาดเสื้อผ้าให้สะอาด ด้วยสารฟอกขาว หรือโซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือใช้ความร้อนรีดเสื้อผ้าทั้งบริเวณด้านในและด้านนอก

website stamp 4452

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ https://www.iod.go.th/ หรือโทร 02 5906000

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด