Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 30,519,719

สังเกต 7 สัญญาณเด็กอาจถูกทำร้ายในโรงเรียน

สังเกต 7 สัญญาณเด็กอาจถูกทำร้ายในโรงเรียน
หลังจากที่ทุกสถานศึกษาได้เปิดเรียนมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง เด็ก ๆ หลายคนอาจจะกำลังปรับตัวการกับการเข้าเรียนในโรงเรียนแห่งใหม่ หรือเจอเพื่อนใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่อาจจะมีการไม่เข้าใจ ทะเลาะ หรือกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่บางครั้งก็อาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายร่างกายกัน
ฉะนั้นพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ควรสังเกตอาการของลูกหลาน หากมีพฤติกรรมเหล่านี้ ควรสอบถามและดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอาจมีความเป็นไปได้ว่าบุตรหลานของท่านจะถูกทำร้ายที่โรงเรียน
1. บาดแผลตามร่างกาย
รอยแผลที่เกิดจากการถูกทำร้ายบางครั้งอาจจะเป็นรอยช้ำนิดหน่อย แต่เป็นรอยฟกช้ำที่ดูผิดปกติ เช่น รอยถูกหยิก หรือหูที่บวมแดง รอบบวมตามแขน ขา เป็นต้น
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
อาจมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกจากเดิม ตกใจง่าย มีปัญหาการเข้ากับเพื่อน หรือไม่ยอมไปโรงเรียน หรือแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การนอนสะดุ้งจากฝันร้าย หรือกลับไปฉี่รดที่นอนอีกครั้ง
3. ดูเงียบผิดปกติ
เด็กหลายคนที่ถูกทำร้ายเลือกที่จะเงียบมากกว่าโวยวาย เพราะเด็กกลัวว่าเขาจะถูกทำร้ายมากขึ้น หรือแม้แต่กลัวว่าจะเข้ากับสังคมที่โรงเรียนไม่ได้ เด็กบางคนเลือกที่จะเงียบ เมื่อลูกเกิดเงียบจนผิดปกติ คุยน้อยลงจนน่าแปลกใจ หรือถามคำตอบคำแทนที่จะร่าเริง ให้คิดว่าอาจจะเกิดเรื่องขึ้นได้
4. อารมณ์รุนแรง
การถูกทำร้ายร่างกายนั้นส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก ๆ และยังอาจจะทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น เหม่อลอย ขี้ลืม สมาธิสั้น โกรธ โมโหง่าย ฉุนเฉียวง่าย ที่อาจจะเกิดจากความคับข้องใจที่ต้องการระบาย บางคนแสดงออกด้วยความก้าวร้าว ต่อต้าน อารมณ์ร้ายไปเลย
5. เริ่มมีการใช้ความรุนแรง
เด็กอาจเห็นว่าการใช้ความรุนแรงอย่างการทำร้ายร่างกายทำให้เกิดผลดีได้ เช่น การที่เห็นเพื่อนโดนครูตีแล้วหยุดดื้อ หรือการที่เพื่อนโดนครูหยิกแล้วหยุดคุยกัน ทำให้พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไปในทางลบ ทำให้เกิดการเลียนแบบโดยใช้ความรุนแรง เพราะเขามองว่าความรุนแรงยุติปัญหาได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ๆ
6. ขาดความมั่นใจ
ถ้าอยู่ ๆ ลูกเคยทำอะไรได้ แต่กลับไม่กล้าทำ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเอะใจสักนิดว่าเกิดอะไรขึ้นที่โรงเรียนหรือไม่ อาจจะต้องใช้วิธีให้กำลังใจก่อนจะค่อย ๆ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น พร้อมกับให้คำแนะนำ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และให้แนวคิดที่ถูกต้อง
7. การกินและการนอนที่เปลี่ยนไป
เด็กที่ถูกทำร้ายอาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมหลายอย่าง เด็กอาจจะเศร้าจนกินได้ไม่มากเท่าเดิม หรือนอนฝันร้าย นอนสะดุ้ง ฉี่รดที่นอน เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเอะใจว่าอาจจะเกิดเรื่องไม่ดีที่โรงเรียนอย่างแน่นอน
การตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในวัยเด็กนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ หลายคนอาจคิดว่าโตขึ้นเด็กคงลืมได้ แต่แท้จริงแล้วความรุนแรงนั้นจะแฝงอยู่จนเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้น พวกเขาจะเลือกใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหา เพราะเรียนรู้ในวัยเด็กว่า ความรุนแรงนั้นยุติปัญหาได้จริง ดังนั้นจึงขอให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรสังเกตอาการของลูกหลานในเบื้องต้น เพื่อป้องกันเด็กถูกทำร้าย และป้องกันตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในโรงเรียน
  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด