จำนวนผู้เข้าชม 30,743,540

ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ( 21 – 27 กุมภาพันธ์ 2565)


ข่าวจริง ดื่มกาแฟดำ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคตับแข็ง และช่วยป้องกันการเกิดไขมันพอกในตับ
การดื่มกาแฟมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับอัตราการเกิดพังผืดในตับที่ลดลง 35% ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคตับแข็งได้ และจากผลการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟ 3 ถ้วย/วัน มีความเสี่ยงเกิดไขมันพอกตับน้อยกว่าการดื่มกาแฟ 2 ถ้วย/วัน ดังนั้นการดื่มกาแฟเป็นประจำมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงต่อไขมันพอกตับ
อ่านเพิ่มเติม https://bit.ly/3t8feXk

ข่าวจริง ต่างชาติห้ามทำอาชีพตัดผมในประเทศไทย สงวนสิทธิ์เฉพาะคนไทย ฝ่าฝืนมีโทษทั้งนายจ้าง-ลูกจ้าง
อาชีพช่างตัดผมเป็นหนึ่งในอาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด ซึ่งมีการประกาศไว้ในพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ซึ่งมีทั้งสิ้น 40 งาน เป็นงานห้ามคนต่างด้าวทำเด็ดขาด 27 งาน
อ่านเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/3oYSYOk

ข่าวบิดเบือน สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าเข้าข่ายเป็นรถจักรยานยนต์ ขับขี่บนถนนผิดกฎหมายต้องจดทะเบียน และเสียภาษี
จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า การนำมาขี่บนถนนสาธารณะ เจ้าของต้องไปขอจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ทางกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าไม่สามารถจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. รถยนต์ได้ แม้ว่าสกู๊ตเตอร์จะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าและมีสองล้อ แต่ไม่เข้าข่ายเป็นรถจักรยานยนต์ที่ต้องจดทะเบียน
อ่านเพิ่มเติมที่ bit.ly/3hcw55H

ข่าวปลอม ใช้ปัสสาวะหยอดตา ช่วยแก้อาการปวดตาได้
จากคำแนะนำวิธีแก้ปวดตา ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า การใช้น้ำปัสสาวะบำบัดยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกที่น่าเชื่อถือมาอ้างอิงว่ารักษาโรคได้จริง ซึ่งปัสสาวะ คือ ของเสียในรูปของเหลวที่ผลิตออกจากไต โดยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกจากท่อปัสสาวะ มีปริมาณ 1 ลิตรต่อวัน องค์ประกอบของปัสสาวะ 95 % เป็นน้ำ 2.5% เป็นยูเรีย และที่เหลือประกอบด้วยสารเคมีอื่น ๆ
อ่านเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/3v6FNic

ข่าวปลอม ธ.กรุงไทย ให้ยืมเงินปิดหนี้ตามนโยบายรัฐ ดอกเบี้ยต่ำ ยืมได้ทุกอาชีพ
จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ระบุว่า ธนาคารกรุงไทยให้ยืมเงินปิดหนี้ตามนโยบายรัฐ ดอกเบี้ยต่ำ สามารถยืมได้ทุกอาชีพสูงสุด 200,000 บาทนั้น ทางธนาคารกรุงไทย ได้ตรวจสอบโพสต์ดังกล่าวและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ ธนาคารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องตามที่โพสต์ดังกล่าวแอบอ้างแต่อย่างใด
อ่านเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/358qv1w

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด