Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 30,724,417
ข่าวบิดเบือน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ข่าวบิดเบือน ยาแพกซ์โลวิดให้ประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยโควิด 19 และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่ายาชนิดอื่น

ตามที่มีข้อมูลในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องยาแพกซ์โลวิดให้ประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยโควิด 19 และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่ายาชนิดอื่น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากที่มีการโพสต์ข้อความโดยระบุว่า ยาแพกซ์โลวิดให้ประสิทธิภาพสูงกับผู้สูงอายุป่วยโควิด 19 และยังไม่ได้ฉีดวัคซีนมากกว่ายาชนิดอื่น ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการโฆษณาเกินความเป็นจริง ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ซึ่งความเป็นจริงตามแนวทางการรักษา ได้มีการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่มอาการดังนี้
1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือสบายดี
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ
3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญหรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ออกซิเจน
4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มี hypoxia ปอดอักเสบรุนแรงไม่เกิน 10 วัน หลังจากมีอาการและได้รับออกซิเจน
ทั้งนี้ การให้การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน และอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ด้วย เพราะอาการหรือความตอบสนองต่อเชื้อของผู้ป่วยจะแตกต่างกัน

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.dms.go.th/ หรือโทร. 0-2590-6000

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เป็นการโฆษณาเกินความเป็นจริง ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ซึ่งการให้การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน และอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ด้วย เพราะอาการหรือความตอบสนองต่อเชื้อของผู้ป่วยจะแตกต่างกัน

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด