Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 30,624,011

เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ใช้สิทธิ UCEP รักษาฟรี 72 ชม. จริงหรือ?

ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็น เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ใช้สิทธิ UCEP รักษาฟรี 72 ชม. ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

UCEP (ยูเซป) หรือ Universal Coverage Emergency Patients เป็นสิทธิที่รัฐบาลทำให้ประชาชนคนไทยทุกคน หากเกิดเหตุการณ์วิกฤตฉุกเฉิน สามารถรักษาฟรี 72 ชั่วโมงแรก (3 วัน) ให้พ้นภาวะวิกฤต โดยจะรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ที่ใกล้ผู้ป่วยที่สุด จะเป็นโรงพยาบาลเอกชนก็ได้ “เจ็บป่วย ฉุกเฉิน วิกฤติ มีสิทธิทุกที่”

ส่วนอาการที่เข้าข่ายภาวะฉุกเฉินวิกฤต มี 6 อาการ ดังนี้
1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

สำหรับขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2. โรงพยาบาลประเมินอาการ และคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
3. ศูนย์ประสานความคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันที แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต ให้รับประสานโรงพยาบาลตามสิทธิ หากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.nhso.go.th หรือโทร. 1330 และหากพบอาการที่เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทรแจ้งได้ที่ 1669

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด