จำนวนผู้เข้าชม 30,561,872

ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ (วันที่ 4 – 10 เม.ย. 65)

ข่าวจริง ตรวจ ATK ไม่ระวังเสี่ยงตาบอดหากโดนสาร Sodium Azide เข้าที่ดวงตา

จากที่มีข้อความในสื่อออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า Sodium azide เป็นสารรักษาสภาพ antibody ปริมาณที่ใส่น้อยมากจึงไม่มีผลถึงกับตาบอด ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสารใน ATK และ buffer กรณีกระเด็นเข้าตาหรือผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำเปล่า หากยังระคายเคืองให้พบแพทย์

อ่านเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/3LGWTrY

 

ข่าวจริง  ครม. อนุมัติงบกลาง 5,615 ล้านบาท เพิ่มประสิทธิการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง 

ครม.อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น จำนวน 5,615 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565 จำนวน 2,525 รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ

อ่านเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/3J9swc6

 

ข่าวปลอม ดื่มน้ำอัลคาไลน์หรือน้ำด่าง ช่วยป้องกันมะเร็งได้

จากที่มีการแชร์ข้อความประโยชน์ของการดื่มน้ำด่างว่าเมื่อดื่มแล้วจะทำให้ร่างกายเกิดสมดุล และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งได้นั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงว่า จากหลายการศึกษา พบว่าสภาวะความเป็นกรด-ด่างของอาหารและน้ำดื่ม ไม่ได้มีผลต่อการป้องกันหรือยับยั้งเซลล์มะเร็งแต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/38FaFxc

 

ข่าวบิดเบือน ธ.ออมสินปล่อยสินเชื่อเงินด่วน ให้กู้ยืมรายละ 30,000 บาท ผ่อนเดือนละ 500 บาท

จากกรณีข้างต้น ทางธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า มีการกล่าวถึงสินเชื่อบัตรเงินสดธนาคารออมสิน และใช้ชื่อ ตราสัญลักษณ์ของธนาคารออมสิน โดยมีภาพ/ภาพวิดีโอประกอบการบรรยาย เป็นข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน เนื่องจากธนาคารได้ระงับการเสนอขายและการให้สินเชื่อบัตรเงินสดสำหรับลูกค้ารายใหม่ ยกเว้นกรณีสมัครบัตรเสริม ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ. 64 เป็นต้นมา

อ่านเพิ่มเติมที่ bit.ly/37vpwte

 

ข่าวปลอม โฆษณาบน Facebook ใช้ชื่อ และ โลโก้สำนักงาน ก.ล.ต.

จากกรณีที่มีการโฆษณาข้อความบนเพจเฟซบุ๊ก ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากโฆษณาดังกล่าวมีการแอบอ้างใช้โลโก้ของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ใช่โฆษณาเชิญชวนจากสำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ ก่อนตัดสินใจลงทุน 

อ่านเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/3x6BtAF

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด