Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,792,761
ข่าวจริง
ภัยพิบัติ

สมาคมดาราศาสตร์ไทย ออกประกาศเตือน พายุแม่เหล็กโลก ระดับร้ายแรง จริงหรือ?

จากที่มีการส่งต่อข้อมูลเรื่องสมาคมดาราศาสตร์ไทย ออกประกาศเตือน พายุแม่เหล็กโลก ระดับร้ายแรง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลจริง

การปะทุที่เกิดขึ้นล่าสุดบนดวงอาทิตย์เป็น “การพ่นมวลโคโรนา (CME : Coronal Mass Ejection)” ซึ่งเป็นการพ่นกลุ่มอนุภาคมีประจุครั้งใหญ่จากดวงอาทิตย์ เมื่อ CME เดินทางมาถึงโลก จะทำให้เกิดผลกระทบ 3 ประเด็น

1. แสงออโรราที่ปรากฏสว่างชัดเจน (เฉพาะพื้นที่ละติจูดสูง-ใกล้ขั้วโลก) สนามแม่เหล็กโลกจะเบี่ยงให้อนุภาคมีประจุไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์เหล่านี้ลงมาสู่บรรยากาศโลกบริเวณใกล้ขั้วโลก เมื่ออนุภาคมีประจุดังกล่าวชนเข้ากับอนุภาคแก๊สในบรรยากาศชั้นบนของโลก อนุภาคแก๊สจะปล่อยพลังงานในรูปของแสง เกิดเป็นแสงเหนือ-แสงใต้ (Aurora) ที่ปรากฏชัดเจนเหนือประเทศแถบละติจูดสูง หรือใกล้ขั้วโลก

2. ความเสี่ยงต่อระบบส่งไฟฟ้า และไฟดับเป็นบริเวณกว้าง (เฉพาะพื้นที่ละติจูดสูง-ใกล้ขั้วโลก) ฝูงอนุภาคมีประจุใน CME ที่รบกวน-ปะทะเข้ากับสนามแม่เหล็กโลก ทำให้เกิดความปั่นป่วนในสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งเรียกว่า “พายุแม่เหล็กโลก (Geomagnetic storm)” ซึ่งความปั่นป่วนของสนามแม่เหล็กโลกจะสามารถเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าที่พื้นผิวโลก หากกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติมส่วนนี้เข้าสู่ระบบส่งไฟฟ้า จะทำให้หม้อแปลงเกิดความเสียหาย และสามารถทำให้เกิดไฟดับเป็นบริเวณกว้าง เช่น ไฟดับนาน 9 ชั่วโมง ทางภาคตะวันออกของแคนาดา เมื่อปี ค.ศ. 1989

3. ความเสี่ยงต่อระบบดาวเทียม และระบบนำทาง เมื่อฝูงอนุภาคมีประจุใน CME มาปะทะเข้ากับดาวเทียม สามารถทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรที่ตัวดาวเทียม จนดาวเทียมเสียหายได้ และเกิดความเสี่ยงต่อเนื่องถึงระบบนำทาง-ระบุพิกัดตำแหน่ง (เช่น GPS) ที่ต้องใช้เครือข่ายดาวเทียมหลายดวง

ขณะที่ “การลุกจ้าบนดวงอาทิตย์” (Solar Flare) ซึ่งเป็นการปะทุปล่อยรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เข้มข้นจากพื้นผิวดวงอาทิตย์ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับ CME ในครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อการสื่อสารทางวิทยุในแบบ “สภาวะสัญญาณคลื่นวิทยุขาดหายชั่วคราว” (Radio blackout)

“สภาวะสัญญาณคลื่นวิทยุขาดหายชั่วคราว” เกิดขึ้นเมื่อรังสีจากการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์เดินทางมาถึงโลก ทำให้อนุภาคแก๊สในบรรยากาศชั้นบนของโลกมีประจุไฟฟ้า อนุภาคแก๊สมีประจุส่วนนี้ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่สัญญาณคลื่นวิทยุช่วงความยาวคลื่นสั้นที่ใช้สื่อสารคมนาคมเดินทางผ่านได้ยากขึ้น เพราะเมื่อคลื่นวิทยุเดินทางผ่านชั้นอนุภาคแก๊สมีประจุไฟฟ้า จะเสียพลังงานจากการชนกับอิเล็กตรอนที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น จนสัญญาณคลื่นวิทยุอ่อนลงหรือถูกดูดกลืนไปทั้งหมด

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ “สภาวะสัญญาณคลื่นวิทยุขาดหายชั่วคราว” (ผลกระทบจากการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์) และระบบนำทาง (ผลกระทบจาก CME) ร่วมกันทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการบิน (เครื่องบินที่ต้องใช้ระบบนำทางและสัญญาณคลื่นวิทยุสื่อสาร) ด้วย

อย่างไรก็ตาม มวลกลุ่มอนุภาคมีประจุใน CME จะเดินทางถึงโลก ในช่วงประมาณเที่ยงคืน เข้าวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2024 (ตามเวลาประเทศไทย) ซึ่งเป็นช่วงที่โลกหันฝั่งประเทศไทยออกจากดวงอาทิตย์ และหันฝั่งทวีปอเมริกาเหนือ-อเมริกาใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ จึงทำให้ประเทศบริเวณละติจูดสูงในซีกโลกฝั่งนั้น (สหรัฐฯ กับแคนาดา) มีความเสี่ยงจาก CME และพายุสนามแม่เหล็กโลกมากกว่า จึงทำให้องค์กรบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NOAA) ออกประกาศแจ้งเตือนต่อสังคมสหรัฐฯ

พายุแม่เหล็กโลก

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.narit.or.th โทร. 0531212689

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด