ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นพายุมาวาร์บริเวณทะเลจีนใต้ มีโอกาสเข้าภาคตะวันออก ภาคกลางของไทย ช่วงวันที่ 13 – 14 พ.ค. 66 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีผู้ให้ข้อมูลเตือนภัยว่า พายุมาวาร์บริเวณทะเลจีนใต้ มีโอกาสเข้าภาคตะวันออก ภาคกลางของไทย ช่วงวันที่ 13 – 14 พ.ค. 66 ทางกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข่าวปลอม ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา หากมีพายุเกิดขึ้นจริงกรมอุตุนิยมวิทยาจะประกาศเตือนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และตามข้อมูลโมเดลของ ecmwf ไม่ได้ให้พายุลูกนี้เข้าเวียดนามใต้ ซึ่งโมเดลให้เข้าทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม ส่วนโมเดลของ gfs ยังไม่ชัดเจนและยังไม่ยืนยันว่าเป็นพายุหรือไม่ โดยโมเดลยังคงไม่ให้รุนแรงเท่าไร เป็นเพียงหย่อมกำลังแรงในทะเลจีนใต้เพียงเท่านั้น
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อมิให้เกิดความสับสน และตื่นตระหนกขึ้นในสังคม หากมีสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพื่อเติมสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.tmd.go.th โทรสายด่วน 1182
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลดังกล่าวเป็นข่าวปลอม ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีที่มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยตามข้อมูลโมเดลของ ecmwf ไม่ได้ให้พายุลูกนี้เข้าเวียดนามใต้ ซึ่งโมเดลให้เข้าทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม ส่วนโมเดลของ gfs ยังไม่ชัดเจนและยังไม่ยืนยันว่าเป็นพายุหรือไม่ โดยโมเดลยังคงไม่ให้รุนแรงเท่าไร เป็นเพียงหย่อมกำลังแรงในทะเลจีนใต้เพียงเท่านั้น