mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,805,840
</p>

ให้เด็กเล็กดื่มแอลกอฮอล์ เป็นอันตรายต่อร่างกายและเสี่ยงสูญเสียพัฒนาการทางสมอง จริงหรือ ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ให้เด็กเล็กดื่มแอลกอฮอล์ เป็นอันตรายต่อร่างกายและเสี่ยงสูญเสียพัฒนาการทางสมอง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

สุราหรือเหล้า รวมไปถึงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ไม่ใช่เครื่องดื่มที่เหมาะสมสำหรับให้เด็กดื่ม หากเด็กดื่มสุราหรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย จะส่งผลต่อร่างกายของเด็กมากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า ทั้งทำลายสมองและระบบต่างๆ ในร่างกาย ส่งผลระยะยาวต่อพัฒนาการทางสมอง จะทำให้เด็กสูญเสียความสามารถในการจดจำ ความคิดสร้างสรรค์ถูกทำลาย สุรา หรือเหล้า คือ เครื่องดื่มที่มีเอทิลแอลกอฮอล์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อดื่มสุราเข้าสู่ร่างกาย จะถูกดูดซึมและกระจายไปทุกส่วนของร่างกายภายในเวลา 5 นาที

อย่างไรก็ตามการให้เด็กดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นเรื่องที่อันตรายต่อสุขภาพร่างกายของเด็กมาก เพราะการดื่มสุราจะส่งผลต่อการหลั่งสารโดปามีน (dopamine) ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสารนี้จะมีผลต่อการกดและทำลายสมองส่วนคิด ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องพัฒนาการของสมอง อาจส่งผลให้เด็ก คิดวิเคราะห์ไม่ได้ รวมทั้งส่งผลต่ออวัยวะสำคัญในร่างกาย ตับ ไต ซึ่งตับเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตกลูโคสไปเลี้ยงสมอง หากมีผลกระทบต่อตับ กลไกเหล่านี้ก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ ทั้งนี้การที่สมาชิกในครอบครัวดื่มสุราให้เด็กเห็นเป็นประจำ แนวโน้มที่เด็กจะโตขึ้นมาเป็นนักดื่มมีมากกว่าปกติถึง 4 เท่า ยิ่งพ่อแม่ผู้ปกครองยุยงให้ลองดื่ม ยิ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้ลูกกลายเป็นนักดื่มเร็วยิ่งขึ้น ย้ำเตือน พ่อ แม่ ผู้ปกครอง รวมไปถึงผู้ใหญ่ที่คิดจะให้เด็กทดลองดื่มสุรา เพียงแค่นึกสนุกหรือหยอกเย้าเด็กเล่น พฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของบุตรหลาน อย่าเพียงแค่นึกสนุกแต่ให้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมา ซึ่งอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า เด็กควรจะต้องได้รับอาหารและสารอาหารที่ถูกต้อง ครบถ้วน เหมาะสมตามวัย ซึ่งจะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี ส่งผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และการพัฒนาสติปัญญา

ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.ccit.go.th/ หรือโทร 02-547-0999

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด