mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,913,837
</p>

ข่าวบิดเบือน
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ข่าวบิดเบือน ดื่มน้ำขิงร้อนกับมะนาว ทำให้เชื้อโควิด 19 ฝ่อหมด

ตามที่มีการส่งต่อในประเด็นสุขภาพเรื่องดื่มน้ำขิงร้อนกับมะนาว ทำให้เชื้อโควิด 19 ฝ่อหมด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

จากกรณีที่มีคลิปเสียงาพูดเรื่องดื่มน้ำขิงร้อนกับมะนาว สามารถต้านโควิด 19 ได้ การดื่มน้ำขิงร้อนทำให้ภูมิต้านทานทำงานได้ดียิ่งขึ้น เชื้อโควิดจะตายและหยุดการแพร่เชื้อ ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่าขิงและมะนาวเป็นสมุนไพรในกลุ่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันและไอ ขับเสมหะ ซึ่งในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 นี้ ผู้ที่ไม่ติดเชื้อ ผู้ที่ติดเชื้อหรือหลังติดเชื้อโควิด 19 สามารถดื่มเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพ ช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ทำให้ร่างกายสามารถขจัดเชื้อได้ไวขึ้น รวมทั้งน้ำขิงผสมมะนาวสามารถบรรเทาอาการไอ และขับเสมหะของผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการไอได้ แต่ประสิทธิผลในด้านช่วยฆ่าเชื้อหรือยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด 19 โดยตรงนั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ยืนยันได้ชัดเจนตามที่มีการกล่าวถึงในคลิปเสียง มีเพียงการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ (in silico) ที่เกี่ยวข้องที่พบว่าสารสำคัญจากขิงและเปลือกมะนาวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด 19 ในห้องปฏิบัติการได้ ดังนั้น จำเป็นต้องรอการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และควรระมัดระวังในการสื่อสาร ซึ่งหากเป็นกล่าวอ้างเกินจริง อาจทำให้เกิดการเข้าใจคลาดเคลื่อนถึงประโยชน์ของน้ำขิงมะนาวได้

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th หรือโทร. 02 5917007

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : น้ำขิงผสมมะนาวสามารถบรรเทาอาการไอ และขับเสมหะของผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการไอได้ สามารถดื่มเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพ ช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ทำให้ร่างกายสามารถขจัดเชื้อได้ไวขึ้น แต่ประสิทธิผลในด้านช่วยฆ่าเชื้อหรือยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด 19 โดยตรงนั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ยืนยันได้ชัดเจน

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด