Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

จำนวนผู้เข้าชม 29,806,187

สธ. เปิดศูนย์ฉุกเฉินการแพทย์ฯ กรณีแคดเมียม จริงหรือ?

ตามที่มีข้อมูลออกมาในเรื่อง สธ. เปิดศูนย์ฉุกเฉินการแพทย์ฯ กรณีแคดเมียม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

กระทรวงสาธารณสุข เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) กรณีแคดเมียม และสั่งการจังหวัดได้รับผลกระทบเปิดศูนย์ฯ ทันที เพื่อประสานการดูแลสุขภาพประชาชน พร้อมเข้ม 4 มาตรการ

1. ด้านการเฝ้าระวังผลกระทบ
แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อาศัยร่วมบ้านกับคนทำงานในโรงงาน หรืออาศัยในบ้านที่มีการทำงานสัมผัสแคดเมียม, กลุ่มที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีโอกาสในการรับสัมผัสสูง โดยตรวจวัดสิ่งแวดล้อมพบว่าเกินมาตรฐาน และอยู่ใกล้โรงงานที่มีกระบวนการผลิตเกี่ยวกับแคดเมียม และกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ หรือ ผู้มีโรคประจําตัว อาทิ โรคไต

2. ด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
สามารถส่งตัวอย่างที่สงสัยมาทำการตรวจได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 15 แห่งของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งแต่ละแห่งสามารถรองรับการตรวจได้ 50 ตัวอย่างต่อวัน

3. ด้านการรักษาพยาบาล
ให้จัดทีมปฏิบัติการด้านการแพทย์ดูแลคัดกรองด้านสุขภาพกาย และทีม MCATT ลงพื้นที่เยียวยาจิตใจ รวมทั้งให้คำแนะนำการงดแชร์ข่าวสารข้อมูลเท็จต่าง ๆ เพื่อลดความตื่นตระหนกให้กับประชาชน ตลอดจนเปิดให้บริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง และการตรวจเช็กสุขภาพใจในสภาวะวิกฤตเบื้องต้นด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน MENTAL HEALTH CHECK-IN

4. ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
จะมีทีม SEhRT ของกรมอนามัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ วางแผนเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพต่อประชาชน และอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยรอบอย่างต่อเนื่อง เน้นการตรวจวิเคราะห์สารแคดเมียมและสังกะสีปนเปื้อน ทั้งน้ำอุปโภคบริโภค น้ำประปาชุมชน หรือประปาหมู่บ้าน รวมทั้งเก็บตัวอย่างอาหาร พืชผักที่จำหน่ายในตลาด เพื่อเฝ้าระวังการปนเปื้อนในแหล่งอาหาร ตลอดจนสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพให้กับประชาชนด้วย

สธ. เปิดศูนย์ฉุกเฉินการแพทย์ฯ กรณีแคดเมียม

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://ops.moph.go.th/public/ หรือโทร. 02 590 1000

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด