จำนวนผู้เข้าชม 25,293,594

นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อตกลงการใช้งาน

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับผู้ใช้บริการของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย

1.ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของนโยบาย

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับผู้ใช้บริการของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 โดยนโยบายนี้จะอธิบายถึงวิธีการที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ใช้บริการดังกล่าว อาทิ การเก็บรวบรวม การจัดเก็บรักษา การใช้ การเปิดเผย รวมถึงสิทธิต่าง ๆ ของผู้ใช้บริการ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการ ได้รับทราบถึงนโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จึงได้ประกาศนโยบายส่วนบุคคล ตามขอบเขตและวัตถุประสงค์ของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย นโยบายนี้ครอบคลุมเฉพาะผู้ใช้บริการ ทุกคน เพื่อที่จะได้ทราบและเข้าใจว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย และส่วนงานต่าง ๆ เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการอย่างไร สำหรับรูปแบบการรับบริการอื่นของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จะมีการแยกประเด็นนโยบายเฉพาะกรณี สำหรับแต่ละบริการต่อไปตามนโยบายนี้

“ข้อมูลส่วนบุคคล”

หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวตนผู้ใช้บริการได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยไม่รวมถึงข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการทำให้เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้

“การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”

หมายถึง การดำเนินการใด ๆ ของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ รวมถึง การเก็บรวมรวม การใช้ การจัดเก็บ การเปิดเผย และการลบข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายนี้อาจมีการทบทวนปรับปรุงเมื่อใดก็ได้ตามที่จะได้แจ้งให้ผู้ใช้บริการ ทราบตามช่องทางสื่อสารที่เหมาะสมต่อไป

2. บุคคลที่ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ในศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เป็น “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” สำหรับผู้ใช้บริการ ในปัจจุบันทุกคน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการประมวลผลและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ใช้บริการดังกล่าวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ข้อมูลทะเบียนผู้ใช้บริการ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องจะถูกใช้งานโดยบุคลากรของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ในส่วนงานต่าง ๆ เช่น ฝ่ายและส่วนงานต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวในการทำงานของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย

3. ข้อมูลส่วนบุคคลใดบ้างสำหรับผู้ใช้บริการ ที่ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จัดเก็บ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ได้จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ใช้บริการ ได้แก่ รายละเอียดส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล คำนำหน้า ที่อยู่ ชื่อหน่วยงาน เลขหมายโทรศัพท์ อีเมล์ เพศ ค่าการตั้งค่าบนระบบ ค่าการตั้งค่าความปลอดภัยในบัญชี ไอพีแอดแดรส คุกกี้ เป็นต้น

4.ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ใช้บริการ โดยตรง ผ่านกระบวนการลงทะเบียนใน form ที่เว็บไซต์กรณีการแจ้งข่าว และ email form กรณีการสอบถามข้อมูลการแจ้งข่าว เพื่อดำเนินการรวบรวมข้อมูลส่งให้ทางอีเมลล์ต่อไป

5.ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการดำเนินการทั้งหลายตามวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการระบบแจ้งข่าว รวมถึง

  • เพื่อตรวจสอบ/ยืนยันตัวบุคคล
  • เพื่อรักษาความปลอดภัยต่อบัญชีผู้ใช้บริการ
  • เพื่อแจ้งผู้ใช้บริการเกี่ยวกับข่าวสาร และจดหมายข่าว
  • เพื่อแจ้งผู้ใช้บริการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
  • เพื่อให้ข้อมูลในการเข้าและใช้เว็บไซต์/บริการ
  • เพื่อจัดการเว็บไซต์ การดำเนินการภายใน แก้ไขปัญหา วิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบ วิจัย เพื่อความปลอดภัย การตรวจสอบการบิดเบือน และการจัดการบัญชีผู้ใช้บริการ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย มีความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุผล (ฐานการประมวลผลข้อมูล) ต่อไปนี้ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งเท่านั้น แต่อาจเป็นการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลด้วยเหตุผลหลายเหตุผลประกอบกันก็ได้

    1. เพราะ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้บริการ
      ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ที่มีอยู่ตามเงื่อนไขการใช้บริการกับผู้ใช้บริการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่คือข้อมูลตามที่ระบุในข้อ 3 นอกจากนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ยังจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลของผู้ใช้บริการในข้อนี้ด้วยการทำงานร่วมกันกับบุคคลภายนอกในการให้บริการหรือดำเนินกิจกรรมของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เช่น กิจกรรมที่ดำเนินการโดยหน่วยงานราชการหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดดูข้อ 6 เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลร่วมกันกับหน่วยงานภายนอก)
    2. เพราะ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามภารกิจสาธารณะ
      การให้บริการระบบดิจิทัลภาครัฐเป็นภารกิจสาธารณะที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ดำเนินการตามพันธกิจของสำนักงานในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางของระบบรัฐบาลดิจิทัล มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนา บริหารจัดการ ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล และจัดทำมาตรฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนการ บูรณาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งศึกษา วิจัย สร้างนวัตกรรม ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการ ในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
    3. ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จึงมีความจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านซึ่งโดยส่วนใหญ่คือข้อมูลตามที่ระบุในข้อ 3 เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้บริการระบบดิจิทัลและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การประเมินผลความพึงพอใจ และการกำกับดูแล รวมถึงการส่งข้อมูลให้กับคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    4. เพราะ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
      ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการประมวลผลข้อมูลเพื่อการติดตามตรวจสอบหรือเพื่อการส่งข้อมูลตามกฎหมายของหน่วยงานกำกับดูแล เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
    5.  เพราะ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของสำนักงาน
      ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของสำนักงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการวิเคราะห์สถิติ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการประมวลผลข้อมูลเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้อื่นด้วย เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานเพื่อการพัฒนาบริการของระบบ
    6. เพราะ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ได้รับความยินยอมจากท่าน
      ในบางกรณี ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จะขอความยินยอมจากผู้ใช้บริการเพื่อประมวลผลข้อมูลของท่าน เช่น การขอความยินยอมเพื่อตอบแบบสอบถาม หรือขอความยินยอมเพื่อการเปิดเผยหรือส่งข้อมูลที่อ่อนไหวของผู้ใช้บริการ

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้เท่านั้น ในบางกรณีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย อาจพิจารณาว่าสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุผลอื่นที่เกี่ยวข้อง และไม่ขัดหรือนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์เดิม แต่ในกรณีที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลด้วยวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์เดิม ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จะขอความยินยอมใหม่เพื่อการใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ใหม่นั้น

6.การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลร่วมกันกับหน่วยงานภายนอก

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย อาจมีความจำเป็นต้องส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานภายนอกดังต่อไปนี้ เพื่อประมวลผลข้อมูลตามหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาหรือตามกฎหมายของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย

  • หน่วยงานภายนอกที่ให้บริการแก่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย
  • คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (รายละเอียดดูที่ https://www.egov.go.th) ซึ่งใช้ข้อมูลผู้ใช้บริการในการดำเนินการตามภารกิจสาธารณะตามกฎหมาย
  • ส่วนราชการหรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร กรมการกงสุล กรุงเทพมหานคร เป็นต้น ซึ่งใช้ข้อมูลผู้ใช้บริการในการดำเนินการตามภารกิจสาธารณะตามกฎหมาย

ในกรณีที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ใช้หรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการไปยังหน่วยงานภายนอก ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จะดำเนินการเท่าที่จำเป็นโดยใช้หรือส่งข้อมูลให้น้อยที่สุด และอาจพิจารณาใช้วิธีจัดทำข้อมูลนิรนาม (Anonymisation) การแฝงข้อมูล (Pseudonymisation) เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล โดยบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้กับ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จะต้องจัดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสมตามนโยบายนี้ และ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกดังกล่าวใช้ข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย กำหนด

7.การส่งหรือโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศ

ในบางกรณีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย อาจส่งข้อมูลของผู้ใช้บริการไปยังต่างประเทศ เช่น ในกรณีที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ติดต่อกับผู้ใช้บริการที่อยู่ต่างประเทศ หรือหน่วยงานภายนอกที่อยู่ต่างประเทศ กรณีเช่นนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จะส่งข้อมูลของผู้ใช้บริการไปยังต่างประเทศก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ประเทศปลายทางที่รับข้อมูลได้รับการวินิจฉัยจากคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลว่ามีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ
  • หน่วยงานต่างประเทศที่รับข้อมูลอยู่ภายใต้นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย และหน่วยงานต่างประเทศได้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสมสามารถบังคับตามสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ รวมทั้งมีมาตรการเยียวยาทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด เช่น ข้อสัญญามาตรฐาน ประมวลวิธีปฏิบัติ มาตรฐานที่ได้รับการรับรอง เป็นต้น
  • เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการใช้สิทธิตามกฎหมาย
  • ได้รับความยินยอมจากท่าน โดยท่านได้รับทราบถึงมาตรฐานการคุ้มครองส่วนบุคคลที่ไม่เพียงพอของประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว
  • เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งท่านเป็นคู่สัญญาหรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญานั้น
  • เป็นการกระทำตามสัญญาระหว่าง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย กับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของท่าน
  • เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของท่าน หรือบุคคลอื่น เมื่อท่านไม่สามารถให้ความยินยอมในขณะนั้นได้
  • เป็นการจำเป็นเพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ

8.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ บุคคลภายนอกที่เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จะต้องดำเนินการตามคำสั่งของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย และตกลงที่จะรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น

9.ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการตลอดระยะเวลาที่จำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย

10.สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ท่านมีสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้

  • สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of Access) โดยท่านสามารถขอรับสำเนาข้อมูลของท่านและตรวจสอบว่าศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ได้ประมวลผลข้อมูลของท่านตามกฎหมายหรือไม่
  • สิทธิในการโอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Data Portability) ในกรณีที่ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ได้จัดทำข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ และสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ ท่านสามารถ
    • ขอให้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังหน่วยงานอื่นได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ
    • ขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ส่งหรือโอนไปยังหน่วยงานอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  • สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Object) โดยท่านสามารถคัดค้านในกรณีที่ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ประมวลผลข้อมูลของท่าน
    • ตามภารกิจสาธารณะ (Public Task) หรือตามประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest) ของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย
    • เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง
    • เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ เว้นแต่เป็นการจำเป็นเพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย
  • สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Erasure) โดยท่านสามารถขอให้ลบข้อมูล หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวท่านได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
    • เมื่อหมดความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคค
    • เมื่อท่านถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ต่อไป
    • เมื่อท่านคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านแล้ว
    • เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  • สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Restrict Processing) โดยท่านสามารถขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
    • เมื่อศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย อยู่ในระหว่างการตรวจสอบตามที่ท่านขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
    • เมื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องลบหรือทำลาย แต่ท่านขอให้ระงับการใช้แทน
    • เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ แต่ท่านมีความจำเป็นต้องขอให้เก็บรักษาไว้เพื่อใช้ในการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
    • เมื่อ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย อยู่ในระหว่างการพิสูจน์ หรือตรวจสอบ ตามคำขอใช้สิทธิในการคัดค้านของท่าน
  • สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Rectification) โดยท่านสามารถขอแก้ไขข้อมูลของท่านให้ถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบันได้ หากท่านพบว่าข้อมูลของท่านไม่ถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบันศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ไม่สามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลดังกล่าวได้ด้วยตนเอง

ในบางกรณีตามสภาพของการดำเนินการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย อาจไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ท่านขอได้ เช่น ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามหน้าที่ตามสัญญาหรือกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ดีในกรณีที่ท่านได้ให้ความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเอาไว้ ท่านสามารถถอนความยินยอมนั้นเมื่อใดก็ได้ด้วยการส่งอีเมล์ไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้อง โดย ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จะยุติการประมวลผลข้อมูลดังกล่าวโดยเร็วที่สุด แต่การถอนความยินยอมนั้นจะไม่มีผลเป็นการยกเลิกเพิกถอนการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ดำเนินการไปแล้ว

ขอให้ท่านรับทราบว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย จะบันทึกรายการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องของท่านเอาไว้เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หากมีข้อสงสัยในรายละเอียดทางปฏิบัติของการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ท่านอาจศึกษาได้จากแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (TDPG2.0) ได้ที่ www.dga.or.th)

11.การทบทวนและปรับปรุงนโยบาย

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ขอสงวนสิทธิในการทบทวนและปรับปรุงนโยบายนี้ตามที่สำนักงานเห็นสมควร โดยจะได้แจ้งให้ท่านทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของนโยบายนี้ และ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย อาจแจ้งเตือนท่านเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะ ๆ