mobile-menu
search icon mobile
search on header

<p>

จำนวนผู้เข้าชม 20,823,112
</p>

กิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ครั้งที่ 2 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 21 มีนาคม 65 จ.นครพนม

กิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม จ.นครพนม ประกาศปี 65 เล็งเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย ทั้งอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) สมาคมนักวิทยุอาสาสมัครประธานสหพันธ์สมาคมวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายประเทศไทย และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ติดปีกภาคีเครือข่ายของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

วันที่ 21 มีนาคม 2465 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานและกล่าวเปิดงาน “การจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม” ที่ จ.นครพนม โดยมีนายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม คณะผู้บริหารส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจในสังกัด ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ ที่เป็นภาคีเครือข่ายของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเข้าร่วม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวระหว่างการเปิดงาน การทำงานด้านสร้างการรับรู้ และรับมือข่าวปลอมในปี 65 นี้ กระทรวงดิจิทัลฯ และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม หวังผลกับกลุ่มเป้าหมายภาคประชาชน เพื่อช่วยต่อยอดในการขยายผลสร้างการรับรู้ วิธีสังเกตข่าวปลอม ช่องทางการแจ้งเบาะแส และขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหาและข่าวสารที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะข้อมูลที่บิดเบือนและปัญหาข่าวปลอม

เนื่องจากมองว่าเป็นภาคส่วนสำคัญ ที่จะช่วยภาครัฐสามารถชี้แจงทำความเข้าใจ และเผยแพร่ความถูกต้องให้กับประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดความมั่นคง และประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศได้ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นนักศึกษา วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ตลอดจนหน่วยงานต่างจังหวัด

ปีงบประมาณ 65 จึงมีการเจาะจงกลุ่มเป้าหมายให้ตรงกับประเด็นการสื่อสาร อาทิ อาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) สมาพันธ์สมาคมวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายประเทศไทย สมาคมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดนครพนม และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตลอดจนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกล่าวสำหรับสถานการณ์ข่าวปลอมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสถิติที่รวบรวมตั้งแต่กลางปี 64 – 14 มี.ค. 65 พบว่าประเด็นข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจหลักๆ เป็นข่าวเกี่ยวกับโควิด และวัคซีนโควิด โดยติดอันดับถึง 5 ข่าวจาก 10 ข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในสื่อสังคมออนไลน์หรือในระบบคอมพิวเตอร์ อันเป็นข้อมูลเท็จหรือข้อมูลปลอมดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัย และได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ โดยเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 65 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการ “ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. ….” ให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ ใน 3 ระดับ ได้แก่
(1) ศูนย์ประสานงานกลาง จัดตั้งโดยกระทรวงดิจิทัลฯ มีอำนาจและหน้าที่ประสานงานกับศูนย์ประสานประจำกระทรวงและศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด ในการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม และสร้างเครือข่ายอาสาสมัครสอดส่องดูแลข้อมูลข่าวสารปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์
(2) ศูนย์ประสานงานประจำกระทรวง มีอำนาจและหน้าที่รับแจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าอาจเป็นข่าวปลอมเพื่อตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริง โดยให้ปลัดกระทรวงตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข่าวปลอม ประชาสัมพันธ์ข่าวปลอม และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
(3) กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อเท็จจริงทางสื่อสังคมออนไลน์ประจำจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ มีอำนาจและหน้าที่รับแจ้งข้อมูลที่สงสัยว่า อาจเป็นข่าวปลอม เพื่อตรวจสอบและพิจารณาเนื้อหา ชี้แจงให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม และดำเนินการตามกฎหมายผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ ดีอีเอส ยังได้มีการร่วมงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ประกอบด้วย ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมและความมั่นคง (ศตปค.ตร.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ

อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ระดมทุกกลยุทธ์เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อลวง ทั้งในแง่ของการจัดการกับข่าวปลอม และการปราบปรามดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย กรณีเป็นการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ

ขอฝากเครือข่ายทุกท่านเป็นหูเป็นตา และหากหากพบว่ามีเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เช่น พนันออนไลน์ ลามกอนาจาร หมิ่นสถาบัน ละเมิดลิขสิทธิ์ และเข้าข่ายผิดกฎหมายอาหารและยา เป็นต้น กระทรวงฯ จะดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย โดยยื่นเรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ลบข้อมูล หรือการหลอกลวงออนไลน์ และภัยจากแก๊ง Call Center ให้แจ้งมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 หรือสายด่วน 1441 ของตำรวจไซเบอร์

สามารถดาวน์โหลดรูปภาพกิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ครั้งที่ 2 จ.นครพนม ได้ที่

https://fakenews.ntcloudbox.com/s/S94mXDTgJyMfWkk

  หน่วยงานที่ตรวจสอบ

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด