1. ความเที่ยงธรรมและความปราศจากอคติในการคัดเลือกข่าว 2. ความเป็นส่วนบุคคลกับสิทธิเสรีภาพของการนำเสนอข่าว 3. การขัดกันด้านผลประโยชน์ และผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง 4. ให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายที่ถูกพาดพิงและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเท่าเทียมกัน 5. สามารถอธิบายกระบวนการพิสูจน์ การตรวจสอบแหล่งที่มาของบทความและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้ 6. มีความรู้เกี่ยวกับข่าวนั้น ๆ ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ และโปร่งใส 7. เป็นหน่วยงานที่อิสระ ไม่ขึ้นต่ออิทธิพลของหน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ
หลักเกณฑ์การวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาข่าวปลอมที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ดังนี้
1. ข่าวปลอมที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อประชาชนโดยตรง เช่น โรคระบาด ภัยพิบัติ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม 2. ข่าวปลอมที่สร้างความแตกแยกในสังคม 3. ข่าวปลอมที่สร้างความเชื่อที่ผิดต่อสังคม เช่น น้ำมะนาวรักษามะเร็ง 4. ข่าวปลอมที่ทำลายภาพลักษณ์ต่อประเทศ
ตอนนี้อยู่ในส่วนของการพัฒนาค่ะ เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้วทีมจะทำการเปิดตัวแถลงข่าวอีกครั้งค่ะ
สามารถแจ้งเบาะแสข่าวที่น่าสงสัย กรอก URL ที่น่าสงสัย, อัปโหลดภาพที่ต้องการแจ้ง, เนื้อหาข่าวที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้รับข้อมูลคำร้องแล้ว จะประสานงานตรวจสอบค่ะ
1.ดูความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข่าว ถ้าเป็นเว็บไซต์ข่าวที่มีไม่กี่หน้า ไม่ระบุที่อยู่สำหรับติดต่อ ก็อาจเป็นไปได้ว่า เป็นเว็บไซต์ที่ถูกสร้างเพื่อเผยแพร่ข่าวปลอม 2.ตรวจสอบว่ามีเว็บไซต์หรือแหล่งข่าวอื่นที่เผยแพร่ข่าวเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีเพียงแหล่งข่าวเดียว ก็อาจเป็นไปได้ว่าเป็นข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือ 3.สอบถามบนเว็บบอร์ดหรือติดต่อสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ ให้ช่วยตรวจสอบ 4.บ่อยครั้งที่ข่าวปลอมมักจะใส่ภาพจากข่าวเก่า เพื่อทำให้ดูน่าเชื่อถือ ผู้ใช้อาจพิจารณาใช้งานบริการของ TinEye หรือ Google Reverse Image Search (คลิปสาธิตการใช้งาน thcert.co/2NwdBa เพื่อค้นหาว่ารูปดังกล่าวปรากฎอยู่ในข่าวเก่าหรือไม่ 5.ตรวจสอบโดยการนำชื่อข่าว หรือเนื้อความในข่าวมาค้นหาใน Google อาจพบเว็บไซต์แจ้งเตือนว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอมหรือดูวันที่เผยแพร่ข่าว อาจพบว่าเป็นข่าวจริงแต่เผยแพร่แล้วเมื่ออดีต